จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556


ความปลอดภัย (ในการทำงาน) ง่ายนิดเดียว (ตอนที่ ๙)
สำหรับเดือนเมษายนของทุกปี แน่นอนผู้อ่านทุกท่านต้องนึกถึงเทศการสงกรานต์และวันปีใหม่ไทย และผู้เขียนหวังว่าทุกท่านคงสนุกสนานกับเทศกาลดังกล่าวกันทั่วหน้า สำหรับท่านผู้อ่านที่ปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทั้งในระดับวิชาชีพและเทคนิคขั้นสูง จะต้องไม่ลืมนะครับว่าเดือนเมษายนหรือเดือนที่ ๔ ของปี ท่านจะต้องรวบรวมผลการปฏิบัติงานของท่าน ช่วงไตรมาสแรกของปี เพื่อให้นายจ้างรายงานต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ และในปัจจุบันการรายงานผลการปฏิบัติงานของ จป. ท่านสามารถรายงานผลการปฎิบัติงานผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือระบบ e-Service ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดต้นทุนทางธุรกิจ (คลิ๊กเข้าระบบ)
นอกจากนั้น ท่านยังสามารถรายงานผลการปฎิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานอื่นที่อยู่ในระบบ            e-Service อีก ๕ กฎกระทรวง จำนวน ๑๒ แบบรายงาน คือ
๑.     รังสีชนิดก่อไอออน
๑.๑ แบบแจ้งจำนวนและปริมาณความแรงรังสีของต้นกำหนิดรังสี (แบบ ร.๑-๑)
๑.๒ แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงของจำนวนหรือปริมาณความแรงรังสีของต้นกำเนิดรังสี (แบบ ร.๑-๒)
๑.๓ แบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางเทคนิคในเรื่องรังสี (แบบ ร.๓-๑)
๑.๔ แบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีแทนผู้รับ
      ผิดชอบเดิมซึ่งพ้นหน้าที่ (ร.๓-๒)
๑.๕ แบบรายงานการปฎิบัติงานของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี (แบบ ร.๕)
๒.    การตรวจสุขภาพที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยให้ การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไข
แบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาล   
และป้องกันแก้ไข
๓.     การแจ้งสถานที่การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ
แบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ
๔.     การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ภายในสถานประกอบกิจการ
๔.๑ แบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานในสภาวะการทำงานที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตราย         จากความร้อน
๔.๒ แบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานในสภาวะการทำงานที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากแสงสว่าง
๔.๓ แบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานในสภาวะการทำงานที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากเสียง
๕.      การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คือแบบรายงานที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงข้างต้น
๕.๑ แบบรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
๕.๒ แบบรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง

สำหรับอีกเรื่องหนึ่งที่อยากเล่าสู่กันฟัง คือ เกี่ยวกับการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ                 ขณะนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุญาตให้หน่วยงาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กระทรวงมหาดไทย) สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กรุงเทพมหานคร) หน่วยงานดับเพลิงของเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา สามารถดำเนินการฝึกอบรม การดับเพลิงขั้นต้น และการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ไปพลางก่อนจนกว่าร่างกฎกระทรวงการเป็นหน่วยฝึกดำเนินการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟฉบับใหม่จะประกาศบังคับใช้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น