จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ความปลอดภัย (ในการทำงานง่ายนิดเดียว (ตอนที่ ๗)

ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมีข่าวการเกิดเพลิงไหม้เป็นประจำทั้งในประเทศและต่าง     ประทศไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากอะไi สิ่งสำคัญที่สถานประกอบกิจการต้องเตรียมการ     คือ การผจญเพลิงเพื่อระงับเหตุ หรือถ้าไม่สามารถควบคุมได้ทุกคนในสถานประกอบกิจการจะต้องอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย

ในส่วนของกระทรวงแรงงานเองได้มีการซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟในวันที่ ๓๐ มกราคม ที่ผ่านมาเพื่อเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ถ้ามีเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ของกระทรวง ซึ่งตามมาตรา ๓ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.. ๒๕๕๔ กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ อย่างน้อยเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยฯ ที่ พรบ. ความปลอดภัยฯ กำหนด เช่นเดียวกัน

กลับมาที่๓ องค์ประกอบสุดท้าย ที่ผมกล่าวถึง คือ การควบคุมเพลิงไหม้(Control of Fire) การบริหารจัดการความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้(Management of the Fire Risk) และข้อมูลข่าวสาร การฝึกอบรม และการให้การศึกษา (Information, Training and Education) โดยเริ่มต้น

องค์ประกอบที่ ๕ การควบคุมเพลิงไหม้(Control of Fire) คู่มือจะกล่าวถึงการเตรียมเครื่องมือและคนให้มีความพร้อม เช่น การเลือกอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมและตำแหน่งการวางที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
ดังนั้น การวางแผนในการควบคุมเพลิงควรมีการนำเรื่องดังกล่าว มาประกอบการพิจารณา เช่น
  • การเลือกชนิดอุปกรณ์เพื่อการดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของเพลิงที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน
  • อุปกรณ์ดับเพลิงต้องถูกติดตั้งบริเวณทางออกของอาคาร เพื่อผู้รับผิดชอบสามารถเข้าถึงจากตำแหน่งที่ปลอดภัย
  • ผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมการใช้ถังดับเพลิงชนิดเคลื่อนย้ายได้ รวมถึงข้อแนะนำอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการผจญเพลิงอย่างปลอดภัย
  • การใช้ถังดับเพลิงทุกกรณี ควรมีการรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • มีการตรวจสอบถังดับเพลิงชนิดเคลื่อนย้ายได้ประจำทุกสัปดาห์ เพื่อมั่นใจถังดับเพลิงยังอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดและพร้อมใช้งาน
การกำหนดขั้นตอนการรายงานสถานการณ์เพลิงไหม้ที่มีประสิทธิภาพต่อหัวหน้างานและผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจตัดสินใจ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการ้ควบคุมเพลิงและ การอพยพผู้ปฏิบัติงาน
การติดตั้งประตูทนไฟเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมการกระจายของเพลิงไหม้ โดยประตูทนไฟจะช่วยชลอกระจายของเพลิงไหม้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีเวลามากพอที่จะอพยพออกจากสถานที่ทำงานได้

กลับมาดูกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.. ๒๕๕๕ ได้เน้นการดับเพลิงออกเป็น ๒ ส่วน คือ ให้นายจ้างจัดให้มีระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงขั้นต้นได้อย่างเพียงพอในทุกส่วนของอาคาร (ตามข้อ ๑๒ ) และให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ (ตามข้อ ๑๓) โดยมาตรฐานของเครื่องดับเพลิงให้เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (คลิ๊กรายละเอียด)
รวมถึงให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบกิจการรับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (ในข้อ ๒๗ และข้อ ๓๐ตามลำดับ)

องค์ประกอบที่ ๖ การบริหารจัดการความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้(Management of the Fire Risk) 

การบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับเพลิงไหม้นอกจากจะมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันความเสียหายของทรัพย์สินแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ชีวิตของผู้ปฏิบัติงานและ ผู้เกี่ยวข้อง การจะดำเนินการดังกล่าวได้นั้น ผู้รับผิดชอบต้องทราบจำนวนผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องที่เข้าติดต่อธุรกิจภายในสถานประกอบกิจการ ซึ่งการที่จะสามารถทราบถึงข้อมูลดังกล่าวได้นั้น สถานประกอนกิจการจะต้องมีมาตรการในการตรวจสอบการเข้า-ออกสถานประกอบกิจการ เช่น การตอกบัตรหรือเซ็นต์ชื่อก่อนเข้าทำงาน หรือการแลกบัตรผ่านกรณีมีผู้เข้ายี่ยมชมหรือติดต่อธุรกิจภายในสถานประกอบกิจการ โดยการดำเนินการ ดังกล่าวควรอยู่รอบหรือห่างออกจากสถานที่ทำงานที่ความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ เพื่อง่ายต่อการที่หน่วยงานภายนอกติดต่อขอข้อมูล
การทราบจำนวนผู้ที่ติดอยู่ภายในสถานประกอบกิจการหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้รับผิดชอบสามารถตรวจสอบและมั่นใจได้ว่าทุกคนสามารถอพยพออกมาได้อย่างครบถ้วน
การเตรียมพื้นที่อพยพที่ปลอดภัยเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องกำหนดไว้ โดยห่างจากสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ พร้อมทั้งควบคุมไม่ให้ผู้อพยพกลับสู่สถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้อีกครั้ง
นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณา เช่น การกำหนดจุดจอดรถที่บรรทุกสารไวไฟ หรือแก๊สให้ห่างออกจากอาคารและสถานที่ทำงาน และเส้นทางการเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ของหน่วยงานภายนอก

ในแง่ของกฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติโดยตรง แต่อาจเป็นมาตรการหนึ่งที่สถานประกอบกิจการควรกำหนดในแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยของสถานประกอบกิจการ ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ ๔ ที่กำหนดให้สถานประกอบกิจการมีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประกอบด้วยการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข

องค์ประกอบที่ ๗ ข้อมูลข่าวสาร การฝึกอบรม และการให้การศึกษา (Information, Training and Education)
คู่มือได้กล่าวในภาพรวมการให้ความรู้ต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น การจัดฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก่อนเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการ นอกจากนั้น ยังเน้นที่การฝึกอบรมเพื่อทบทวนความรู้ให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่เป็นประจำ

กฎกระทรวงฯ อัคคีภัย ข้อ ๖ ได้กำหนดให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะงานหรือไปทำงาน ณ สถานที่ที่เสี่ยงหรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ให้นายจ้างแจ้งข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานให้ลูกจ้างทราบก่อนการปฏิบัติงาน
และสิ่งมองข้ามไม่ได้ คือ การให้คำแนะนำและข้อมูลต่อบุคคลภายนอกที่เข้าเยี่ยมหรือติดต่อธุรกิจภายในสถานประกอบกิจการ เช่น ระบบเสียงสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เส้นทางการอพยพ เป็นต้น โดยข้อมูลอาจกำหนดอยู่ในแบบการ์ดสำหรับบุคคลภายนอก


ที่มา : Fire Risk Management, 2012, International Labour Office.
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกัน    และ ระงับอัคคีภัย พ.๒๕๕๕