จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556


ความปลอดภัย (ในการทำงาน) ง่ายนิดเดียว (ตอนที่ ๖)
        สัปดาห์ที่ผ่านมา บางท่านอาจทราบข่าวแล้วเกี่ยวกับการประกาศบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย    พ.. ๒๕๕๕  ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๖ เพื่อให้มีการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความปลอดภัยในการทำงาน
โดยกฎหมายกำหนดให้สถานประกอบกิจการดำเนินการ เช่น สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย    อาคารที่มีสถานประกอบกิจการหลายแห่งตั้งอยู่รวมกัน ให้นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในอาคารนั้นมีหน้าที่ร่วมกันในการจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยด้วย เป็นต้น (รายละเอียดเพิ่มเติม)

        กลับมาเรื่องที่ผมได้กล่าวไว้แล้วในบทความที่ผ่านมาเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ควรนำมาพิจารณาในการวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ในสถานประกอบกิจการ จากคู่มือ Fire Risk Management ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ
โดย ๒ องค์ประกอบแรกที่กล่าวไปแล้ว คือ  การควบคุมวัสดุหรือสารไวไฟ และการลดหรือกำจัดต้นเหตุที่เป็นสาเหตุต่อการเกิดเพลิงไหม้ ส่วนองค์ประกอบต่อไปที่จะกล่าวถึง คือ

        องค์ประกอบที่ ๓ : การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่มีประสิทธิภาพ (Rapid Identification of Presence of the Fire)
        การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญในการจะที่ควบคุมเหตุการณ์ในช่วงเริ่มต้นไม่ให้ลุกลาม ซึ่งผู้สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ทันทีอาจเป็นตัวของผู้ปฏิบัติงานเองที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ถ้าได้รับการฝึกอบรมที่เพียงพอ
        การจะดำเนินการดังกล่าวได้นั้น สถานประกอบกิจการสามารถนำเอาเทคโนโลยี   เข้ามาช่วย คือ อุปกรณ์ในการตรวจจับประกายไฟ ความร้อนหรือควัน เชื่อมต่อกับระบบสัญญาณกริ่งและสัญญาณเตือน เพื่อแจ้งเตือนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ โดยคู่มือ Fire Risk Management มุ่งเน้นไปที่การติดตั้งและการเตรียมอุปกรณ์ดังกล่าวเหมาะสมพื้นที่การปฏิบัติงานและให้พร้อมใช้งานมากกว่าความทันสมัยของอุปกรณ์ กล่าวคือ
-         การพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวต้องเหมาะสมกับความเสี่ยงในพื้นที่นั้น
-         แผนการตรวจสอบและทดสอบความพร้อมอุปกรณ์ เช่น การตรวจสอบ  
      แบตเตอรี กระแสไฟฟ้าที่ถูกจ่ายเพื่อเลี้ยงอุปกรณ์ดังกล่าว
ทั้ง ๒ ประเด็นที่กล่าวข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าเป็นหลักการเบื้องต้น แต่ปัญหาสถานประกอบกิจการหลายแห่งไม่ให้ความสำคัญมากนัก แต่มุ่งเน้นการควบคุมภายหลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้ว
        องค์ประกอบที่ ๔ การเตรียมขั้นตอนและวิธีปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่ประสิทธิภาพ (Effective Emergency Provision and Procedure)
        การเตรียมการให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการให้สามารถอพยพออกจากสถานที่เกิดเหตุได้อย่างทันท่วงที เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความสูญเสียน้อยลง เช่น
-         กำหนดให้มีเส้นทางหนีไฟสองด้าน (เส้นทางหนีไฟทั้งสองต้องอยู่ตรงข้ามกัน)      
     ของอาคารหรือสถานที่ทำงาน
-         ห้องปิด (เช่น ห้องสำนักงาน) จะต้องมีทางออกอย่างน้อย ๑ ทาง ที่สามารถ
     ออกสู่เส้นทางหนีไฟได้ตลอดเวลา
-         เส้นทางหนีไฟต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น การทาสีแนวเส้นทางหนีไฟ
     ด้วยสีเหลือง และความกว้างของเส้นทางหนีไฟไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร และปราศสิ่งกีดขวาง
-         เส้นทางหนีไฟต้องแสงสว่างที่เพียงพอโดยการติดตั้งไฟฉุกเฉิน และเส้นทางหนีไฟต้องออกนอกอาคารสู่ที่ปลอดภัย
เรากลับเข้ามาในรายละเอียดกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.. ๒๕๕๕ ฉบับใหม่ จะเห็นได้ว่ามีการระบุไว้เช่นกัน เช่น
ข้อ ๘ (วรรคที่ ๑) กล่าวคือ
-         ให้นายจ้างจัดให้มีเส้นทางหนีไฟทุกชั้นของอาคารอย่างน้อยชั้นละสองเส้นทาง
-         เป็นเส้นทางสามารถอพยพลูกจ้างที่ทำงานในเวลาเดียวกันทั้งหมดสู่จุดที่ปลอดภัยได้
-         ใช้เวลาในการอพยพภายไม่เกินห้านาที
-         เส้นทางหนีไฟจากจุดที่ลูกจ้างทำงานไปสู่จุดที่ปลอดภัยต้องปราศจากสิ่งกีดขวาง...
ข้อ ๑๐ ให้นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเพื่อการหนีไฟ...
        นอกจากนี้ คู่มือ Fire Risk Management ยังได้เน้นที่การตรวจสอบเส้นทางหนีไฟเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเส้นทางหนีไฟไม่ถูกกีดขวางและประตูระหว่างเส้นทางหนีไฟเปิดออกได้ง่าย ถ้านายจ้างต้องการล็อกประตูด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ (Security) นายจ้างอาจจัดเก็บกุญแจในล็อกบล็อกแก้วบริเวณประตู หรือประตูชนิดบาร์ล็อก
        สำหรับผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการแนะนำและฝึกอบรมขั้นตอนการอพยพหนีไฟ    โดยขั้นตอนการอพยพดังกล่าว ควรถูกบรรจุในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเบื้องต้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องเข้าร่วมการฝึกภาคปฏิบัติในการอพยพหนีไฟ และผู้รับผิดชอบควรมีการประเมินผลการฝึกภาคปฏิบัติดังกล่าว เพื่อนำมาปรับปรุงหรือกำหนดขั้นตอนการอพยพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
        ส่วนรายละเอียดการฝึกภาคปฏิบัตินั้น ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับข้อแนะนำและข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการอพยพอื่น กรณที่เส้นทางหนีไฟปกติไม่สามารถใช้งานได้ เช่น การใช้ขวานเพื่อทำลายกำแพงหรือสิ่งกีดขวาง หรือข้อแนะนำและการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการคลาน   ถ้าอาคารถูกปกคลุมด้วยกลุ่มควัน
        คราวนี้เราวกกลับมาดูว่าในกฏกระทรวงฯ การป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ อีกครั้ง ว่ามีระบุไว้ในข้อใดบ้าง เริ่มต้นด้วยคุณสมบัติประตูหนีไฟ
ข้อ ๘ (วรรคที่ ๒)......คือ
-         ประตูที่ใช้ในเส้นทางหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ
-         ไม่มีธรณีประตูหรือขอบกั้น
-         เป็นชนิดที่บานประตูเปิดออกไปตามทิศทางของการหนีไฟกับต้องติดอุปกรณ์ที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง
-         ห้ามใช้ประตูเลื่อน ประตูม้วน หรือประตูหมุน
-         ห้ามปิดตาย ใส่กลอน กุญแจ ผูก ล่ามโซ่ หรือทาให้เปิดออกไม่ได้ในขณะที่มีลูกจ้างทำงาน
        ส่วนการฝึกอบรมและฝึกซ้อมต่างๆ ที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง เดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว นั้น ระบุไว้ใน
        ข้อ ๒๗ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจานวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบกิจการรับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น...
ข้อ ๓๐ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง...
        เราจะเห็นได้ว่าคู่มือ Fire Risk Management องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ    ได้กำหนดแนวคิดเบื้องต้นในการป้องกันและระงับอัคคีภัย ส่วนกฏกระทรวงฯ การป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉบับใหม่ของประเทศเรา ได้มีรายละเอียดที่สถานประกอบกิจการสามารถนำไปปฏิบัติให้ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้นและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
        ในครั้งต่อไปผมกล่าวถึง ๓ องค์ประกอบสุดท้าย คือ การควบคุมเพลิงไหม้ (Control of Fire) การบริหารจัดการความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้ (Management of the Fire Risk) และข้อมูลข่าวสาร การฝึกอบรม และการให้การศึกษา (Information, Training and Education)

ที่มา : Fire Risk Management, 2012, International Labour Office.
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกัน    และระงับอัคคีภัย พ.. ๒๕๕๕