จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556





ความปลอดภัย (ในการทำงาน) ง่ายนิดเดียว (ตอนที่ ๘)

ผู้เขียนได้มีโอกาสตอบข้อซักถามจากสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับ “กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.. ๒๕๕๕” ผ่านทางโทรศัพท์และอีเมล์ และประเด็นที่คำถามกันบ่อย คือ นิยามเกี่ยวกับสถานที่ที่เสี่ยงต่อการอัคคีภัย คือ
      “สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างเบา”
      “สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างปานกลาง”
      “สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรง”
     
โดยความหมายตามกฎกระทรวง

สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างเบา” หมายความว่า สถานที่ที่มีวัตถุซึ่งไม่ติดไฟเป็นส่วนใหญ่ หรือมีวัตถุติดไฟได้ในปริมาณน้อยหรือมีวัตถุไวไฟในปริมาณน้อยที่เก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทอย่างปลอดภัย
สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างปานกลาง” หมายความว่า สถานที่ที่มีวัตถุไวไฟหรือวัตถุติดไฟได้ และมีปริมาณไม่มาก
สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรง” หมายความว่า สถานที่ที่มีวัตถุไวไฟหรือวัตถุติดไฟได้ง่าย และมีปริมาณมาก

จากความหมาย เจ้าของสถานประกอบกิจการจะต้องประเมินสถานะสถานประกอบกิจการ ที่มีวัตถุครอบครองหรือมีองค์ประกอบที่อาจ   ก่อให้เกิดอัคคีภัยตามระดับความรุนแรงที่กฎหมายกำหนดเพื่อการดำเนินการตามรายละเอียดของกฎหมายต่อไป

ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน    และระงับอัคคีภัย จึงได้รวบรวมข้อมูลที่อาจเป็นประโยขน์ต่อสถานประกอบกิจการ โดยเฉพาะมาตรฐานที่เป็นที่ยอมกันในประเทศ คือมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 

ผู้เขียนได้รวบรวมและเปรียบเทียบมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี ๒๕๒๖ และ ๒๕๕๑  เพื่อให้เจ้าของสถานประกอบกิจการมีข้อมูลเพิ่มเติมในการประเมินสภาพเสี่ยงสถานประกอบกิจการได้ถูกต้องมากขึ้น

โดยมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖ จำแนกอาคารตามลักษณะการใช้งานของอาคาร ซึ่งพิจารณาจากอัตราการเสี่ยงจากเพลิงที่เกิดขึ้น จากวัสดุที่ใช้ประกอบการในอาคารเอง
ส่วนมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๕๑ จำแนกพื้นที่ตามลักษณะการครอบครองและการใช้งานปกติของวัสดุที่สามารถติดไฟและลามไฟได้ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งพื้นที่แต่ละประเภทที่จัดจำแนกว่าจะเป็นพื้นที่ครอบครองประเภทใดขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงที่ปรากฏในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด

ตารางเปรียบเทียบประเภทความเสี่ยงอาคารตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖ กับ      ปี ๒๕๕๑ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖              (EIT Standard 0001-26)
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๕๑                 (EIT Standard 3002-51)
๑.      อาคารประเภทที่ ๑ : อาคารที่มีอัตราการเสี่ยงจากเพลิงที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง (Light Hazard Occupancies) แบ่งออกเป็น ๒ ลำดับตามอัตราความเสี่ยงที่มากขึ้น ดังนี้
๑.๑ อาคารประเภทที่ ๑ ลำดับ ๑ ประกอบด้วย บ้านไม้อยู่อาศัย บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้อาศัย อาคารพาณิชย์คูหาเดียวหรือหลายคูหา ความสูงไม่เกิน ๔ ชั้น สำนักงานขนาดเล็ก ร้านขายของชำ ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านขายอาหารหรือภัตตตาคารทั่วไป สโมสร โบสถ์ วัด และสถานประกอบพิธีทางศาสนา
๑.๒ อาคารประเภทที่ ๑ ลำดับ ๒ ประกอบด้วย โรงแรม โรงพยาบาล สถานพักฟื้น โรงภาพยนตร์   สถานแสดงมหรสพ สถานศึกษาทั่วไป (โรงเรียน, มหาวิทยาลัย) พิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก เรือนจำ อาคารสูงประเภทสำนักงาน อาคารสูงประเภทอยู่อาศัย
๑. พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย (Light Hazard Occupancies) เช่น โรงแรม อาคารพื้นที่พักอาศัยรวม หรืออพาร์ตเม้นต์ (เฉพาะส่วนห้องพัก) สำนักงานทั่วไป โบสถ์ วัด และวิหาร สโมสร สถานศึกษา โรงพยาบาล (ควบคุมวัสดุตามมาตรฐานโรงพยาบาล) สถานพยาบาลและพักฟื้น (ควบคุมวัสดุตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง) ห้องสมุด (ยกเว้นห้องสมุดที่มีชั้นวางหนังสือขนาดใหญ่) พิพิธภัณฑ์
๒.     อาคารประเภทที่ ๒ : อาคารที่มีอัตราการเสี่ยงจากเพลิงที่เกิดขึ้นรุนแรงปานกลาง (Ordinary Hazard Occupancies) แบ่งออกเป็น ๓ ลำดับ ตามอัตรา   ความเสี่ยงที่มากขึ้น ดังนี้
๒.๑ อาคารประเภทที่ ๒ ลำดับ ๑ ประกอบด้วย       โรงจอดรถยนต์ (เหนือพื้นดินและเปิดโล่ง) โรงงานผลิต อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม           โรงทำขนมปัง โรงเครื่องอัดอาหารกระป๋อง
. พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง (Ordinary Hazard Occupancies) แบ่งออกเป็น ๒     กลุ่ม คือ
๒.๑ พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง กลุ่มที่ ๑ ประกอบด้วย ที่จอดรถยนต์และห้องแสดงรถยนต์ โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม ร้านทำขนมปัง ร้านซักผ้า
ตารางเปรียบเทียบประเภทความเสี่ยงอาคารตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖ กับ     ปี ๒๕๕๑  สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖              (EIT Standard 0001-26)
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๕๑                (EIT Standard 3002-51)
ร้านซักผ้า โรงงานผลิตแก้วและวัสดุที่ทำจากแก้ว ภัตตาคาร (ส่วนบริการ)
๒.๒ อาคารประเภทที่ ๒ ลำดับ ๒ ประกอบด้วย โรงงานผลิตเครื่องประดับ โรงงานผลิตเครื่องหนัง โรงงานผลิตลูกกวาดและลูกอม โกดังห้องเย็น โรงงานทอผ้า โรงงานยาสูบ โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์ไม้ โรงพิมพ์ โรงงานผลิตสารเคมี โรงสีข้าว โรงกลึง โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ โรงต้มกลั่น โรงเก็บรถยนต์ (ชั้นใต้ดิน)
๒.๓ อาคารประเภทที่ ๒ ลำดับ ๓ ประกอบด้วย อู่ซ่อมรถยนต์ โรงงานยาง โกดังเก็บวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น กระดาษ เครื่องเรือน สี สุรา ฯลฯ โรงกลึงไม้ โรงงานผลิตกระดาษ ท่าเรือ และสะพานที่ยื่นไปในน้ำ    โรงงานบดอาหาร
โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานผลิตแก้วและวัสดุที่มาจากแก้ว ภัตตาคาร โรงงานผลิตเครื่องบริโภคประจำวัน โรงภาพยนตร์และศูนย์ประชุม (ไม่รวมเวที และเวทีหลังม่าน) สำนักงานที่เป็นอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่
๒.๒ พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง กลุ่มที่ ๒ ประกอบด้วย   โรงงานผลิตสินค้าที่ทำจากหนังสัตว์ โรงงานผลิตลูกกวาดและลูกอม โรงงานผลิตสิ่งทอ โรงงานยาสูบ โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์ไม้        โรงพิมพ์ และสิ่งพิมพ์โฆษณา โรงงานใช้สารเคมี โรงสีข้าว โรงกลึง โรงงานประกอลผลิตภัณฑ์โลหะ โรงต้มกลั่น อู่ซ่อมรถยนต์ โรงงานผลิตยางรถยนต์ โรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่อง โรงงานกระดาษและผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตภัณฑ์กระดาษ      โรงภาพยนต์    ท่าเรือและสะพานส่วนยื่นไปในน้ำ โรงมหรสพที่มีการแสดง  ที่ทำการไปรษณีย์     ห้องสมุด (มีชั้นเก็บหนังสือขนาดใหญ๋) ร้านซักแห้ง ห้องเก็บของ ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ ศูนย์แสดงสินค้าที่มีอาคารขนาดใหญ่ ซุปเปอร์สโตร์ที่เก็บสินค้าไม่เกิน ๓.๖ เมตร (๑๑๒ ฟุต)


ตารางเปรียบเทียบประเภทความเสี่ยงอาคารตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖ กับ    ปี ๒๕๕๑ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖              (EIT Standard 0001-26)
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ปี ๒๕๕๑                 (EIT Standard 3002-51)
๓. อาคารประเภทที่ ๓ : อาคารที่มีอัตราการเสี่ยงจากเพลิงที่เกิดขึ้นรุนแรงมาก (Extra Hazard Occupancies) แบ่งออกเป็น ๒ ลำดับ ตามอัตราความเสี่ยงที่มากขึ้น ดังนี้
๓.๑ อาคารประเภทที่ ๓ ลำดับ ๑ เป็นอาคารที่มีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงเหลว (Combustible Liquids) หรือของเหลวที่ระเหยติดไฟ (Flammable Liquids) เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประกอบด้วย โรงงานผลิตไม้อัดและแผ่นไม้ โรงเลื่อย โรงงานสร้างรถยนต์ โรงงานผลิตสี ซึ่งใช้สารระเหยที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า ๓๗ เซลเซียส โรงเก็บเครื่องบิน      โรงซ่อมเครื่องบิน โรงงานสร้างเครื่องบินอู่ต่อเรือ โรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติก โรงงานถลุงแร่
๓.๒ อาคารประเภทที่ ๓ ลำดับ ๒ เป็นอาคารที่มีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงเหลว (Combustible Liquids) หรือของเหลวที่ระเหยติดไฟ (Flammable Liquids) โดยตรงประกอบด้วย โรงงานผลิตยางมะตอย โรงงานผลิตจาระบี โรงงานประกอบรถยนต์ทุกชนิด โรงงานทำสารละลาย โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานผลิตน้ำมันเครื่อง

๓.      พื้นที่ครอบครองอันตรายมาก (Extra Hazard Occupancies) แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
๓.๑ พื้นที่ครอบครองอันตรายมากกลุ่มที่ ๑ เป็นพื้นที่มีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟ (Combustible Liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable Liquid) ในปริมาณไม่มาก
ประกอบด้วย 
โรงเก็บและซ่อมเครื่องบิน พื้นที่ๆใช้งานโดยมีของเหลวไฮดรอลิคติดไฟได้ หล่อด้วยแบบโลหะขึ้นรูปโลหะ โรงงานผลิตไม้อัดและไม้แผ่น โรงพิมพ์     (ใช้หมึกพิมพ์ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า ๓๗.๙๐ เซลเซียส) อุตสาหกรรมยาง โรงเลื่อย โรงงานสิ่งทอรวมทั้งโรงฟอก ย้อม ปั่นฝ้าย เส้นใยสังเคราะห์ และฟอกขนสัตว์ โรงทำเฟอร์นิเจอร์ด้วยโฟม 
๓.๒ พื้นที่ครอบครองอันตรายมากกลุ่มที่ ๒ เป็นพื้นที่มีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟ (Combustible Liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable Liquid) โดยตรง ประกอบด้วย
โรงงานผลิตยางมะตอย โรงพ่นสี โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานผลิตน้ำมันเครื่อง พื้นที่ๆใช้สารฉีดชนิดของเหลวติดไฟได้ โรงชุบโลหะที่ใช้น้ำมัน อุตสาหกรรมพลาสติก พื้นที่ล้างโลหะด้วยสารละลาย การเคลือบสีด้วยการจุ่ม               


แหล่งที่มาข้อมูล :
. มาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัย ปี ๒๕๒๖ (EIT Standard 0001-26) สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ครั้งที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๙.
. มาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัย ปี ๒๕๕๑ (EIT Standard 3002-51) สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ปรับปรุงครั้งที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๑.