จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ความปลอดภัย(ในการทำงาน)ง่ายนิดเดียว
                จากที่ผมกล่าวถึง ๗ องค์ประกอบหลักๆ ที่สำคัญที่ควรพิจารณาในการวางแผน       เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ไปแล้วนั้น ในสัปดาห์นี้ผมจะกล่าวถึงรายละเอียด        แต่ละองค์ประกอบที่คู่มือได้กล่าวถึง โดยเริ่มต้นจากการควบคุมวัสดุหรือสารไวไฟและ       การลดหรือกำจัดต้นเหตุที่เป็นสาเหตุต่อการเกิดเพลิงไหม้
๑. การควบคุมวัสดุหรือสารไวไฟ
วัสดุหรือสารไวไฟที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องกำหนดพื้นที่การจัดเก็บในที่ชัดเจนภายในพื้นที่การทำงานหรือสถานที่อื่นที่เหมาะสม ขณะเดียวกันจำนวนหรือปริมาณที่ถูกนำมาใช้ในพื้นที่การทำงานควรปริมาณที่จำกัดหรือจำเป็นต่อการใช้งาน เพื่อง่ายต่อการป้องกันและควบคุมหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
-         สารไวไฟที่อยู่ในรูปของเหลวหรือก๊าซควรถูกจัดเก็บในสถานที่จัดเก็บภายนอก
    สถานที่ทำงาน
-         วัสดุที่ง่ายต่อการติดไฟ เช่น กระดาษ ผ้า ไม้ พลาสติก และวัสดุที่เป็นหีบห่อ เป็นต้น ไม่ควรถูกจัดเก็บในสถานที่ยกตัวอย่าง เช่น
ก.     พื้นที่ใต้บันไดหรือช่อง ปล่องบันได
ข.     เครื่องจักรที่มีความร้อน
ค.     อุปกรณ์และสายไฟฟ้า
ง.      พื้นที่การทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน เช่น งานเชื่อม งานบด เป็นต้น
วัสดุหรือสารไวไฟควรมีฉลากที่บอกถึงข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับวัตถุหรือวัสดุไวไฟนั้น
ไอสารเคมีที่สามารถติดไฟง่ายและก่อให้เกิดเพลิงไหม้ต่อหีบห่อหรือภาชนะที่บรรจุจะต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น
-         หีบห่อหรือภาชนะที่บรรจุ รวมถึงสถานที่จัดเก็บหรือพื้นที่การทำงานต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อความร้อนหรือเพลิงไหม้
-         การจัดการสถานที่จัดเก็บที่เหมาะสม เช่น การจัดเก็บโดยจำแนกวัสดุหรือ    สารไวไฟตามประเภทหรือคุณสมบัติของวัสดุหรือสารไวไฟนั้น
-         หลีกเลี่ยงการจัดเก็บวัสดุหรือสารไวไฟบริเวณรอบอาคารหรือบริเวณพื้นที่      โล่งแจ้งที่ได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์
-         กำหนดพื้นที่สูบบูหรี่สำหรับลูกจ้าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกจ้างมีโอกาสเข้าใกล้พื้นที่ที่จัดเก็บวัสดุหรือสารไวไฟ
-         การตรวจความปลอดภัยเป็นวิธีการที่สำคัญ เพื่อในทุกคนปฎิบัติตามมาตราการที่กำหนดไว้
๒. การลดหรือกำจัดต้นเหตุที่เป็นสาเหตุต่อการเกิดเพลิงไหม้
ตำแหน่งแหล่งที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือที่สามารถติดไฟได้ ต้องถูกพิจารณาอย่าง   มีนัยสำคัญกับพื้นที่การจัดเก็บวัสุดหรือสารไวไฟ ซึ่งหมายความว่า เราต้องมีมาตรการในการแยกทั้งสองแหล่งออกจากกัน โดยแหล่งที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือที่สามารถติดไฟได้ควรได้รับการควบคุมและกำหนดไว้ชัดเจนภายในแผนฯ เช่น
-         พื้นที่สูบบุหรี่ในสถานที่ทำงาน
-         การควบคุมการเข้าออก เพื่อป้องกันการลอบวางเพลิง
-         การจัดสถานที่การจัดเก็บ เมื่อมีการทำงานก่อให้เกิดความร้อน
-         มอบหมายผู้รับผิดชอบในพื้นที่ในการติดตามและควบคุม เมื่อมีการทำงาน        
     ที่ก่อให้เกิดความร้อน
-         กำหนดระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการเผาหรือทำลายสิ่งของที่เหลือ   
     ใช้จากการทำงาน
-       การตรวจสอบและบำรุงรักษาสภาพอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากสภาพอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ดังนั้น ควรมีการกำหนดข้อควรระวังที่ต้องดำเนินการเป็นพิเศษ เช่น
ก.     อุปกรณ์และเครื่องมือไฟฟ้าควรมีสายดินเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิติที่เป็นสาเหตุการเกิดติดไฟได้
ข.     วงจรไฟฟ้าแต่ละวงจรควรมีขนาดฟิวส์ที่เหมาะสมหรือเครื่องป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
ค.     ควรต่อสายไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์หรือเครื่องไฟฟ้าโดยตรงแทนการใช้สายไฟฟ้าชนิดอ่อน เพื่อป้องกันความเสียหายของสายไฟฟ้า เช่น ฉนวนของสายไฟ หรือการลดการต่อพ่วงสายไฟฟ้าที่อาจทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ความปลอดภัย(ในการทำงาน)ง่ายนิดเดียว

         จากลิ้งค์ของ http://www.ilo.org/safework/info/standards-and-instruments  ศูนย์ข้อมูลด้านความปลอดภัยและอนาชีวอนามัยระหว่างประเทศ หรือ CIS ผมหวังว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย สำหรับคู่มือที่น่าสนใจที่ผมได้จากเว็บไซต์ CIS ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นข่าวและเป็นที่สนใจไปทั่วโลก คือ เหตุเพลิงไหม้โรงงานสิ่งทอที่ประเทศปากีสถาน ทำให้ลูกจ้างเสียชีวิตมากกว่า ๒๐๐ คน สาเหตุของเพลิงไหม้ผมคงไม่กล่าวถึง แต่ที่ผมจะกล่าวถึงคือ การเตรียมความพร้อมของสถานประกอบกิจการเพื่อควบคุมและบรรเทาถ้าเกิดเหตุเพลิงไหม้ จากคู่มือ“การจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับเพลิงไหม้” (Fire Risk Management) ซึ่งคู่มือได้สรุปต้นเหตุหลักที่นำไปสู่เหตุเพลิงไหม้ ประกอบด้วย การจัดเก็บวัสดุไวไฟในสถานที่ทำงาน การขาดมาตรการหรือวิธีการควบคุมแหล่งที่อาจเป็นต้นเพลิงไหม้ การขาดการโต้ตอบเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที การขาดวิธีการควบคุมเพลิงไหม้ที่ถูกต้อง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้ประสบภัยไม่สามารถหลบหนีจากสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้นั้น มี ๔ สาเหตุหลัก คือ
๑.    การออกแบบอาคารที่ไม่เหมาะสม
๒.    สิ่งกีดขวางเส้นทางหนีไฟ
๓.    การขาดสัญลักษณ์เตือนเบื้องต้นเกี่ยวกับเพลิงไหม้
๔.    การขาดขั้นตอนหรือวิธีการโต้ตอบกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่เกิดขึ้นกับสถานประกอบกิจการทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในบ้านเรา
นอกจากนั้น คู่มือได้กล่าวถึงการควบคุมและลดความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้        ซึ่งสถานประกอบกิจการ (หรือนายจ้าง) ควรมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวแก่ระดับผู้บริหารหน่วยงานรับผิดชอบในการกำหนดแผนการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับเพลิงไหม้ให้เป็นไปตามนโยบายของสถานประกอบกิจการ (หรือนายจ้าง) โดยแผนควรประกอบด้วย องค์ประกอบหลักๆ ที่สำคัญเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ ดังนี้
๑.    การควบคุมวัสดุไวไฟ
๒.    การลดต้นเหตุที่เป็นสาเหตุต่อการเกิดเพลิงไหม้
๓.    มีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่มีประสิทธิภาพ
๔.    ข้อคับและวิธีปฏิบัติเพื่อโต้ตอบเกิดฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ
๕.    การควบคุมขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้
๖.    การจัดการความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้
๗.    ข้อมูล การฝึกอบรม และการศึกษาเกี่ยวกับเพลิงไหม้
        สำหรับรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ผมจะกล่าวถึงในบทความครั้งต่อไป ซึ่งรวมถึงตัวอย่างแบบตรวจซึ่งเป็นมาตรการเฝ้าระวังเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้             ผมคิดว่าแบบดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์กับสถานประกอบกิจการขนาดเล็กและกลาง

ที่มา : Fire Risk Management, International Labour Office.