จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


                 ความปลอดภัย(ในการทำงาน)ง่ายนิดเดียว
            เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม                  The International Occupational Safety and Health Information Centre Network หรือ CIS Network ครั้งที่ ๕๐ ซึ่งจัดขึ้นที่ International Labour Office, Geneva, Switzerland (วันที่ ๑๙-๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕) โดย CIS เป็นหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ภายใต้การกำกับดูขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Office, ILO) โดย CIS เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระหว่างประเทศ โดยประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า    ๖๐ คน จากประเทศสมาชิกทั่วโลก การประชุมเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศสมาชิก และกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพในอนาคต

           นอกจากนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจากกลุ่มประเทศเครือข่ายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประกอบด้วย
    เครือข่ายแรงงานจากแอฟริกา หรือ Africa Regional Labour Administration Centre
    เครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา หรือ ALASEHT
    เครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจากกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ ASEAN-OSHNET
    เครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจากกลุ่มประเทศยุโรป หรือ European Agency for Safety and Health at Work (EU-OSHA)

         จากที่ผมได้กล่าวในข้างต้น ประเทศสมาชิกของ CIS จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เป็นประโยชน์ที่แต่ละประเทศสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะในประเทศนั้นๆ และ CIS ได้พัฒนาฐานข้อมูลกลางด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยพร้อมกับแปลเป็นภาษาต่างๆ ในการที่ประเทศสมาชิกจะนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในประเทศตน สำหรับข้อมูลต่างๆ นั้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าสืบค้นข้อมูลได้ที่เว็บไซต์                        http://www.ilo.org/safework/info/standards-and-instruments
โดยในเว็บไซต์มีข้อมูลความปลอดภัยและอาชีวอนามัยหลายๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมก่อสร้าง และงานภาคเกษตร เป็นต้น หรือ Encyclopaedia of Occupational Health and Safety ของ CIS สำหรับผู้ที่สนใจมาตรฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในเรื่องต่างๆ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ที่ห้องสมุดสำนักความปลอดภัยแรงงาน ชั้น ๔ อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


บทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงการตรวจสอบปั้นจั่นตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานโดยวิศวกรเครื่องกล ซึ่งก็มีคำถามเพิ่มเติมอีกว่า การตรวจสอบของวิศวกรเครื่องกลวรวมถึงตรวจสอบฐานการรับรองปั้นจั่นหรือไม่
สำหรับการตรวจสอบฐานรองรับปั้นจั่น เช่น ปั้นจั่นหอสูงในงานก่อสร้างน ปั้นจั่นที่ติดตั้งในอาคารหรือโรงงาน เป็นต้น การออกแบบและตรวจสอบฐานรองรับนั้นต้องเป็นหน้าที่ของ “วิศวกรโยธา” ตั้งแต่ระดับภาคีวิศวกรเป็นต้นไปตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา พ..๒๕๕๑
ดั้งนั้น เมื่อเราพูดถึงการตรวสอบปั้นจั่นตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน จะมีวิศวกรเข้ามาเกี่ยวข้อง ๒ ด้าน คือ วิศวกรเครื่องกลที่เน้นการตรวจสอบโครงสร้างที่มีการเคลื่อนไหว ที่เราอาจเรียกว่า Dynamic Structure และวิศวกรโยธาที่เน้นตรวจสอบโครงสร้างที่มีความมั่นคง แข็งแรง ที่เราอาจเรียกว่า Static Structure
นอกจากนั้น ตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานอื่นที่สถานประกอบกิจการต้องให้วิศวกรทั้งสองสาขา ทำการตรวจสอบ รับรอง ดังนี้
. โดยวิศวกรเครื่องกล : ลิฟต์หรือลิฟต์โดยสารและขนส่งวชั่วคราว หม้อไอน้ำ เครื่องตอกเสาเข็มเครื่องกลในงานก่อสร้าง
. โดยวิศวกรโยธา : นั่งร้าน ค้ำยันในงานก่อสร้างหรืออาคาร โรงงาน มาตรการดูแลความปลอดภัยลูกจ้างที่เข้าพักอาศัยในหน่วยงานก่อสร้าง


วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เรื่องความปลอดภัย(ในการทำงาน)ง่ายนิดเดียว

ความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา เพราะเราทุกคนต้องประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนและครอบครัวไม่ว่าจะเป็นงานอิสระ    (ส่วนตัว) หรืองานที่ต้องรับจ้าง 

สำหรับ Blogger นี้ ผมมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยในการทำงาน (งานที่ต้องรับจ้าง) ทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต งานก่อสร้าง งานบริการ เป็นต้น     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 

โดยผมขอเริ่มต้นกับคำถามในกลุ่มเพื่อนงานด้านความปลอดปลอดภัยฯ     ที่เราพูดคุยกันบ่อย คือ “เราจะให้ใครเป็นผู้สามารถตรวจสอบปั้นจั่นได้   ตามกฏหมายความปลอดภัยในการทำงาน? ซึ่งจากสืบค้นข้อมูลผมพบว่า ผู้ที่สามารถตรวจสอบปั้นจั่นได้ตามกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานนั้น คือ วิศวกรรมสาขาเครื่องกลทั้งประเภทภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร   และวุฒิวิศวกร ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานในลักษณะงานดังกล่าวตาม   พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ สามารถทำการตรวจสอบและ   รับรองผลการตรวจส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นตามกฏหมาย          ความปลอดภัยในการทำงาน โดยขึ้นอยู่กับประเภทเครื่องจักร และขนาดการให้กำหนิดพลังงาน/ขนาดการใช้พลังงาน และขนาดความดันซึ่งเข้าข่ายที่กฎหมายควบคุม (รายละเอียดเพิ่มเติมจาก : ข้อบังคับสภาวิศวกร        ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล .. ๒๕๕๑ ; ราชกิจจานุเบกษา   เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑)